วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การบริหารภาษีอากร - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา













 เงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แบ่งได้เป็น 8 ประเภท ตามลักษณะของการได้มา ดังนี้
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 (มาตรา 40 (1)) ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการแจ้งแรงงาน
เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2 (มาตรา 40 (2)) ได้แก่เงินได้เนื่องหน้าที่ หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับทำงานให้ เช่น ค่านายหน้า ค่าส่วนลด ค่าธรรมเนียม ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 (มาตรา 40 (3)) ได้แก่ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะ เป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 (มาตรา 40 (4)) ได้แก่ ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร เงินลดทุน เงินเพิ่มทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 (มาตรา 40 (5)) ได้แก่ เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน เงิน หรือประโยชน์อย่างอื่น ที่ได้เนื่องจาก
- การให้เช่าทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน
- การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อนซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้น
โดยไม่ต้อง คืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 (มาตรา 40 (6) ได้แก่ เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือวิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม หรือวิชาชีพอื่นซึ่งจะได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดชนิดไว้

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 (มาตรา 40 (7)) ได้แก่ เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องลงทุนด้วยการจัดหาสัมภาระ ในส่วนสำคัญนอกจากเครื่องมือ

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 (มาตรา 40 (8)) ได้แก่ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม การขนส่ง การขายอสังหาริมทรัพย์ หรือการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในประเภทที่ 1 ถึงประเภทที่ 7 แล้ว

การหักค่าใช้จ่าย เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายให้หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา ได้ร้อยละ 40 ของเงินได้แต่รวมกันแล้วต้อง ไม่เกิน 60,000 บาท
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 3 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายได้เฉพาะเงินได้ที่เป็นค่าแห่งลิขสิทธิ์ โดยให้หักเป็นการเหมาได้ร้อยละ 40 ของค่าแห่งลิขสิทธิ์แต่ไม่เกิน 60,000
สำหรับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้ที่มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจาก พินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล ไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 5 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ ดังนี้ คือ

(1) การให้เช่าทรัพย์สิน ผู้มีเงินได้มีสิทธิเลือกหักค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้
ก.หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
ข. หักเป็นการเหมาในอัตราที่กำหนด ดังนี้
- การเช่าสิ่งปลูกสร้าง หัก ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 30
- การเช่าที่ดินที่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 20
- การเช่าที่ดินที่ไม่ใช้ในการเกษตร หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 15
- การเช่ายานพาหนะ หักค่าใช้จ่าย ร้อยละ 30
- การเช่าทรัพย์สินอื่น หัก ค่าใช้จ่าย ร้อยละ 10

(2) การผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน กฎหมายยอมให้ผู้มีเงินได้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
ได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว

(3) การผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน ซึ่งผู้ขายได้รับคืนทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นโดยไม่ต้องคืนเงินหรือประโยชน์ที่ได้รับไว้แล้ว กฎหมายยอมให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 20 วิธีเดียว
เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 6 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่งดังนี้

- ให้หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
- ให้หักเป็นการเหมาดังต่อไปนี้
- เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป ให้หักค่าใช้จ่ายร้อยละ 60
- เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระนอกจาก 1) หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 30

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 7 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้หักค่า ใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- หักตามความจำเป็นและสมควร หรือ
- หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละ 70

เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายยอมให้เลือกหัก ค่าใช้จ่ายวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้
- หักตามความจำเป็นและสมควรหรือ
- หักเป็นการเหมาในอัตราร้อยละตามที่กฎหมายกำหนี่ 7 แล้ว
 
 
การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นตอนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 คำนวณภาษีวิธีที่ 1 สำหรับเงินได้ทุกประเภท
โดยนำเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย หักค่าลดหย่อน เหลือเท่าใด คูณด้วยอัตราภาษี
ขั้นที่ 2 คำนวณภาษีวิธีที่ 2 สำหรับเงินได้ทุกประเภท ที่มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป ยกเว้นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) (ไม่รวมเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1) การคำนวณวิธีที่ 2 ให้คำนวณร้อยละ 0.5 ของเงินได้พึงประเมิน
ขั้นที่ 3 สรุปจำนวนภาษีที่ต้องชำระ โดยการเปรียบเทียบจำนวนภาษีวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ภาษีวิธีใดมากกว่าให้ชำระภาษีตามวิธีนั้น


การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1

เงินเดือน (มาตรา 40 (1))
144,000
หัก ค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000
60,000
86,400
ค่าเช่าห้องแถว (มาตรา 40 (5))
240,000
หัก ค่าใช้จ่าย 30%
72,000
168,000
เงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
254,400
หัก ค่าลดหย่อน
ผู้มีเงินได้
30,000
ภรรยา
30,000
บุตร เรียนหนังสือ
17,000
บุตรยังไม่เรียนหนังสือ
15,000
92,000
เงินได้สุทธิ
162,400
ภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 1
เงินได้สุทธิ 100,000 แรก
เสียภาษีอัตราร้อยละ 5
ปัจจุบันยกเว้น
เงินได้ส่วนที่เกิน 100,000 คือ 62,400
เสียภาษีอัตราร้อยละ 10
6,240

ขั้นที่สอง คำนวณภาษีตามวิธีที่ 2
เฉพาะเงินได้พึงประเมินที่ไม่ใช่เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 รวมกันตั้งแต่ 60,000 บาท ขึ้นไป เสียภาษีอัตรา ร้อยละ 0.5
เงินได้จากค่าเช่าห้องแถวทั้งปี 240,000
อัตราภาษี ร้อยละ 0.5
ภาษีตามวิธีที่ 2 (240,000 x 0.005) 1,200
ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี ชำระ
จำนวนภาษีตามวิธีที่ 1 6,240 บาท
จำนวนภาษีตามวิธีที่ 2 1,200 บาท
ต้องชำระภาษีตามวิธีที่ 1 6,240 บาท
หัก ภาษีครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว 600 บาท
ภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม 5,640 บาท


การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี

โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินแต่ละประเภทที่ตนได้รับ ตลอดปีภาษีไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ เช่น เงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง
ถึง 31 ธันวาคม 2550 ต้องคำนวณภาษีพร้อมยื่นแบบแสดงรายการภายในวันที่ 31 มีนาคม 2551 เป็นต้น การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1


เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี
xxxx
(1)
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด
xxxx
(2)
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
xxxx
(3)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด
xxxx
(4)
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ
xxxx
(5)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
xxxx
(6)
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ
xxxx
(7)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1
xxxx
(8)

ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น



ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี
การคำนวณภาษี


จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า
xxxx
(11)
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว
xx
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว
xx
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า
xx
เครดิตภาษีเงินปันผล
xx
xx
(12)
(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้)
xx

โจทย์ตัวอย่างการคำนวณ
น.ส.ใบตอง เขียวสด มีเงินได้จากบริษัทแห่งหนึ่ง เดือนละ 20,000 บาท ตลอดปีภาษี 2550 ถูกหักเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 3% ของเงินเดือน ถูกหักเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งปี 9,000 บาท และตามหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นเงิน 3,000 บาท ให้คำนวณภาษีของน.ส.ใบตอง

ผลการวิเคราะห์

ขั้นที่1 คำนวณวิธีที่ 1
1. เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่เท่าใด จากโจทย์ เป็นเงินได้จากเงินเดือน ซึ่งอยู่ในมาตรา 40(1) หรือเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1
2. นำเงินได้รวมตลอดทั้งปี เดือนละ 20,000 บาท คูณ 12 เดือน (ม.ค. 50 – ธ.ค. 50) รวมเงินได้ทั้งปี 240,000 บาท
3. หักค่าใช้จ่ายได้เท่าใด เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละ 40 ไม่เกิน 60,000 บาท คำนวณโดยนำเงินได้ทั้งปี 240,000 คูณ ร้อยละ 40 ผลลัพธ์เท่ากับ 96,000 บาท ซึ่งเกิน 60,000 บาท ฉะนั้น หักค่าใช้จ่ายได้ 60,000 บาท
4. เมื่อนำเงินได้ทั้งปี หักค่าใช้จ่ายตามกฎหมายกำหนด คงเหลือเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายเท่ากับ 180,000 บาท (240,000 – 60,000)
5. คำนวณหักค่าลดหย่อน จากโจทย์ น.ส.ใบตอง มีรายการลดหย่อน 3 รายการ คือ
1) ตัวผู้มีเงินได้ หักลดหย่อนได้ 30,000 บาท
2) เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 3% ของเงินเดือน จะถูกหักเงินสะสมไว้
เดือนละ 600 บาท ตลอดทั้งปี คิดเป็นเงิน 7,200 บาท (600 x 12)
3) เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม รวมทั้งปี เป็นเงิน 9,000 บาท
6. คำนวณเงินได้สุทธิ นำเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย (180,000 บาท) หัก ค่าลดหย่อน 46,200 บาท (30,000 + 7,200 + 9,000) คงเหลือเงินได้สุทธิ 133,800 บาท
7. นำเงินได้สุทธิไปคูณอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด
100,000 แรก เสียภาษีร้อยละ 5 แต่ปัจจุบันได้รับการยกเว้น ส่วนที่เกิน 150,000 ไม่เกิน 500,000 เสียภาษีร้อยละ 10 ซึ่ง ผู้มีเงินได้มีเงินได้สุทธิ 133,800 บาท ส่วนที่เกิน 150,000 คือ ไม่มีภาษีที่ต้องยื่นเสียภาษี
8. เมื่อวิเคราะห์เสร็จเรียบร้อย รายการคำนวณจะปรากฏดังนี้

ขั้นที่หนึ่ง คำนวณภาษีตาม วิธีที่ 1
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1


เงินเดือนตลอดทั้งปี (20,000 x 12)
240,000
(1)
หัก ค่าใช้จ่าย 40% ไม่เกิน 60,000 บาท
60,000
(2)
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย
180,000
(3)
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด
ตัวผู้มีเงินได้ 30,000
เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 7,200
เงินสมทบประกันสังคม 9,000
46,200
(4)
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ
133,800
(5)
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด
0
(6)
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ
133,800
(7)
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1
0
(8)



ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2 หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง
กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 60,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น

ผลการวิเคราะห์ โจทย์ข้อนี้ผู้มีเงินได้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เป็นเงินได้พึงประเมิน
ประเภทที่ 1 คือ เงินเดือน เพียงประเภทเดียว จึงไม่ต้องคำนวณวิธีที่ 2

ขั้นที่สาม สรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี


จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย คือ จำนวนภาษีตามวิธีที่ 1 จำนวน
4,280
(11)
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว
3,000
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว
00
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า
00
เครดิตภาษีเงินปันผล
00
3,000
(12)
(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย
280










1 ความคิดเห็น:

  1. Did you know there's a 12 word phrase you can tell your man... that will trigger deep feelings of love and instinctual attraction to you deep within his chest?

    Because deep inside these 12 words is a "secret signal" that fuels a man's instinct to love, admire and look after you with all his heart...

    12 Words Who Trigger A Man's Desire Instinct

    This instinct is so built-in to a man's mind that it will drive him to work better than before to love and admire you.

    In fact, triggering this all-powerful instinct is so important to having the best possible relationship with your man that the second you send your man one of these "Secret Signals"...

    ...You will immediately notice him open his heart and soul to you in such a way he haven't expressed before and he'll see you as the one and only woman in the galaxy who has ever truly appealed to him.

    ตอบลบ